เมนู

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม ด้วย
อำนาจของวิปปยุตตปัจจัย.

21. อัตถิปัจจัย


[635] 1. นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมป-
ยุตตธรรม ด้วยอํานาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3
ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
2. นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ และ ปัจฉาชาตะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม ที่เกิดพร้อมกัน เป็นปัจจัยแก่
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม ที่เกิดภายหลัง เป็นปัจจัย
แก่กายนี้ ที่เกิดก่อน ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
3. นีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมป-
ยุตตธรรม และนีวรณวิปปยุตตธรรม ด้วยอํานาจของอัตถิปัจจัย

คือ ขันธ์ 1 ที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 และ
จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 เป็นปัจจัย
แก่ขันธ์ 2 ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
4. นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปป-
ยุตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 5 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ ปุเรชาตะ ปัจฉาชาตะ อาหาระ
และ อินทริยะ ฯลฯ
5. นีวรณวิปปยุตตธรรม เป็นปัจจัยแก่นีวรณสัมป-
ยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น ปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลย่อมยินดี ย่อมเพลิดเพลิงยิ่งจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ เพราะ
ปรารภจักษุเป็นต้นนั้น ราคะ ทิฏฐิ วิจิกิจฉา อุทธัจจะ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น.
หทยวัตถุ เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม ด้วย
อำนาจของอัตถิปัจจัย.
6. นีวรณสัมปยุตตธรรม และนีวรณวิปปยุตตธรรม
เป็น ปัจจัยแก่นีวรณสัมปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มีอย่างเดียว คือที่เป็น สหชาตะ รวมกับ ปุเรชาตะ ได้แก่
ขันธ์ 1 ที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม ที่เกิดพร้อมกัน และหทยวัตถุ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 3 ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย ฯลฯ ขันธ์ 2 และหทยวัตถุ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ 2 ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

7. นีวรณสัมปยุตธรรม และนีวรณวิปปยุตตธรรม
เป็นปัจจัยแก่นีวรณวิปปยุตตธรรม ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย

มี 3 อย่าง คือที่เป็น สหชาตะ, ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ
และรวมกับ อินทริยะ
ที่เป็น สหชาตะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม และมหาภูตรูปทั้งหลาย เป็น
ปัจจัยแก่จิตตสมุฏฐานรูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อินทริยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม และรูปชีวิตินทรีย์ เป็น
ปัจจัยแก่กายนี้ ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.
ที่เป็น ปัจฉาชาตะ รวมกับ อาหาระ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นนีวรณสัมปยุตตธรรม และรูปชีวิตินทรีย์ เป็น
ปัจจัยแก่กฏัตตารูปทั้งหลาย ด้วยอำนาจของอัตถิปัจจัย.

การนับจำนวนวาระในอนุโลม


[636] ในเหตุปัจจัย มี 4 วาระ ในอารัมมณปัจจัย มี 4 วาระ
ในอธิปติปัจจัย มี 5 วาระ ในอนันตรปัจจัย มี 4 วาระ ในสมนันตรปัจจัย
มี 4 วาระ ในสหชาตปัจจัย มี 5 วาระ ในอัญญมัญญปัจจัย มี 2 วาระ
ในนิสสยปัจจัย มี 7 วาระ ในอุปนิสสยปัจจัย มี 4 วาระ ในปุเรชาตปัจจัย
มี 2 วาระ ในปัจฉาชาตปัจจัย มี 2 วาระ ในอาเสวนปัจจัย มี 2 วาระ